หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- ศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2556 00:00:51 น.
ก็ไม่รู้ว่าได้ดำเนินการกันไปถึงไหนแล้ว
ผมหมายถึงภาพยนตร์ไทยเรื่อง "เชคสเปียร์ต้องตาย"
ที่คณะกรรมการพิจารณาภาพ ยนตร์และวีดิทัศน์ ได้กำหนดให้เป็น..
"ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร" และทางผู้สร้าง-ผู้กำกับคือ
นายมานิต ศรีวานิชภูมิ ก็ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ซึ่งจนขณะนี้ก็ยังไม่รู้จะได้ฉายหรือไม่ให้ฉาย!
แต่น่าประหลาดใจ ที่หนัง "ห้ามฉาย" กลับมีทั้งนักวิชาการ ทั้งสื่อบางคน ได้แสดงภูมิ วิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ เสียเป็นที่สนุกปาก สาดเสียเทเสีย บ้างก็กล่าวหาด้วยอารมณ์ความรู้สึก..
ก็จริง..คน 7 คนจะมาตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้อย่างไร
ถ้างั้นช่วยหันไปทางทำเนียบรัฐ บาลโน่นหน่อย
แล้วตะโกนทีสิว่า..พวกมึง 37
คนจะมาตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศไทยอย่างไร..หือ?
สังคม-ประเทศมีกติกา มีกฎหมาย คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ไม่ได้ถูกแต่งตั้งจากอำนาจเถื่อน หรือจากนายหมู นายสุนัข
ฉะนั้นแล้ว 7 คน จะต่างจาก 37 คนตรงไหนล่ะ? แต่ที่เรายอมให้คน 37 คนนั่งคุยๆ กันแล้วมีมติกู้เงิน 2.2 ล้าน สร้างรถไฟความเร็วสูง กู้เงิน 3.3 แสนล้าน ป้องกันน้ำท่วม รับจำนำข้าวทุกเม็ดเกวียนละ 15,000 บาท
ผู้กำกับ มีความรู้สึกได้ที่หนังโดนแบน และถูก-ควรแล้วที่ได้ยื่นอุทธรณ์ ก่อนจะยืนฟ้องต่อศาลปกครองไปตามขั้นตอนที่กฎหมายให้สิทธิเอาไว้ และเมื่อถึงที่สุดก็ต้องเป็นไปตามนั้น
นักวิชาการ สื่อ ก็สามารถจะวิจารณ์หรือตำหนิได้ แต่ไม่ควรจะหลับหูหลับตาพูดเอาจากความรู้สึกโดยไม่ได้เห็น เนื้อหา-ภาพ หรือว่านี่แอบดูหนังกันมาแล้ว..งั้นก็ยิ่งแปลกประหลาดที่หนัง "ห้ามฉาย" พวกท่าน (แอบ) ได้ดูกัน!
แล้วนี่ ผลพวงจากที่ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ถูกแบน นายมานิตก็ได้สร้างและกำกับภาพยนตร์ขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง โดยตั้งชื่อว่า "เซ็นเซอร์ต้องตาย" ซึ่งแรกได้ยินก็ให้นึกในใจ ผู้กำกับท่านนี้คงเคียดแค้น เลือดขึ้นหน้า
ถึงกับยอมควักกระเป๋าเอาเงินมาทำหนัง เพื่อจะได้ระบายอารมณ์ เสียดสี ประชดประเชียด ทิ่มแทง หรือด่าประจานคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ ที่แบนหนังให้สาแก่ใจ
และผมก็เฝ้าลุ้นจะได้ดูได้เห็นหนังเรื่องนี้เป็นอย่างที่คิด หรือไม่? ที่สุดก็สมใจ คือได้ดู แต่หนังไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ซ้ำคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นหนัง "เชิงสารคดี" ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจพิจารณาตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ. 2551 มาตรา 27(1)
ก็ขอแสดงความยินดีและดีใจกับคุณมานิต ที่เที่ยวนี้ไม่ต้องสูญเงินเปล่า หนังได้ฉาย แถมไม่ต้องติดเรต..แต่ที่สูญเงินเปล่า ก็..สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่ได้ให้การสนับสนุนทุนหนังเชคสเปียร์ฯ
สันต์ สะตอแมน
Satorman_1@yahoo.co.th
แต่น่าประหลาดใจ ที่หนัง "ห้ามฉาย" กลับมีทั้งนักวิชาการ ทั้งสื่อบางคน ได้แสดงภูมิ วิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ เสียเป็นที่สนุกปาก สาดเสียเทเสีย บ้างก็กล่าวหาด้วยอารมณ์ความรู้สึก..
"พวกมึง 7 คนจะมาตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้อย่างไร"?
สังคม-ประเทศมีกติกา มีกฎหมาย คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ไม่ได้ถูกแต่งตั้งจากอำนาจเถื่อน หรือจากนายหมู นายสุนัข
ฉะนั้นแล้ว 7 คน จะต่างจาก 37 คนตรงไหนล่ะ? แต่ที่เรายอมให้คน 37 คนนั่งคุยๆ กันแล้วมีมติกู้เงิน 2.2 ล้าน สร้างรถไฟความเร็วสูง กู้เงิน 3.3 แสนล้าน ป้องกันน้ำท่วม รับจำนำข้าวทุกเม็ดเกวียนละ 15,000 บาท
นั่น..เพราะเราเชื่อและเคารพในกติกาของประเทศ มิใช่หรือ?
นักวิชาการ สื่อ ก็สามารถจะวิจารณ์หรือตำหนิได้ แต่ไม่ควรจะหลับหูหลับตาพูดเอาจากความรู้สึกโดยไม่ได้เห็น เนื้อหา-ภาพ หรือว่านี่แอบดูหนังกันมาแล้ว..งั้นก็ยิ่งแปลกประหลาดที่หนัง "ห้ามฉาย" พวกท่าน (แอบ) ได้ดูกัน!
แล้วนี่ ผลพวงจากที่ "เชคสเปียร์ต้องตาย" ถูกแบน นายมานิตก็ได้สร้างและกำกับภาพยนตร์ขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง โดยตั้งชื่อว่า "เซ็นเซอร์ต้องตาย" ซึ่งแรกได้ยินก็ให้นึกในใจ ผู้กำกับท่านนี้คงเคียดแค้น เลือดขึ้นหน้า
ถึงกับยอมควักกระเป๋าเอาเงินมาทำหนัง เพื่อจะได้ระบายอารมณ์ เสียดสี ประชดประเชียด ทิ่มแทง หรือด่าประจานคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ฯ ที่แบนหนังให้สาแก่ใจ
และผมก็เฝ้าลุ้นจะได้ดูได้เห็นหนังเรื่องนี้เป็นอย่างที่คิด หรือไม่? ที่สุดก็สมใจ คือได้ดู แต่หนังไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ซ้ำคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นหนัง "เชิงสารคดี" ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจพิจารณาตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ. 2551 มาตรา 27(1)
ก็ขอแสดงความยินดีและดีใจกับคุณมานิต ที่เที่ยวนี้ไม่ต้องสูญเงินเปล่า หนังได้ฉาย แถมไม่ต้องติดเรต..แต่ที่สูญเงินเปล่า ก็..สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่ได้ให้การสนับสนุนทุนหนังเชคสเปียร์ฯ
ไม่รู้พิจารณากันด้วยเกณฑ์-หลักการอย่าง ไร?.. ให้ทุนไป แต่หนังถูกแบน!